การพำนัก・การกลับประเทศเชคลิสต์สำหรับการกลับประเทศ
ขั้นตอนต่างๆที่จำเป็นต้องทำเมื่อกลับประเทศระยะยาวหรือตลอดไป
ขั้นตอนบางอย่างต้องเสียเวลาจัดการ หากเป็นไปได้ให้รีบดำเนินการจะดีกว่า
สิ่งที่ต้องทำ
-
การคืนบัตรไซริวการ์ด
- จ่ายค่าเช่าบ้าน
- ขั้นตอนที่โรงเรียน
- ค่าสาธารณูปโภค
- รถยนต์และรถจักรยานยนต์
- รถยนต์3ล้อหรือ4ล้อที่มีขนาดเล็กกว่า 660cc
- รถสกูตเตอร์หรือรถยนต์ลักษณะพิเศษขนาดเล็ก
- ใบจดทะเบียนตราประทับชื่อ
- ขั้นตอนหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาษีซ้ำซ้อน
- ชำระภาษีท้องที่จังหวัดหรืออำเภอ
- ค่าเลี้ยงดูบุตร
- ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
- เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเด็กเล็ก, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้พิการรุนแรง, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลครอบครัวที่มีแต่แม่และบุตร, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุ
- สมุดบันทึกสุโคยะคะ (สมุดบันทึกสุขภาพ)
- ประกันสุขภาพพลเมือง
- ยื่นคำร้องขอคืนเงิน (เงินบำนาญหรือสวัสดิการเงินบำนาญ)
การคืนบัตรไซริวการ์ด
ในกรณีที่ไม่ได้ทำ re-entry (การขออนุญาตกลับเข้ามาใหม่) สามารถคืนบัตรไซริวการ์ดได้ที่สนามบินตอนออกนอกประเทศ หากทำการ re-entry ตอนออกนอกประเทศ ผู้ที่กลับเข้ามาภายในระยะเวลาของการre-entry จำเป็นต้องใช้บัตรไซริวการ์ดนั้นต่อไป
ในกรณีที่ไม่ได้กลับเข้าประเทศมาในระยะเวลาของการ re-entry บัตรไซริวการ์ดที่มีนั้นจะไม่สามารถใช้ได้ เมื่อกลับเข้ามาให้ทำการคืนบัตรนั้นตอนดำเนินขั้นตอนการกลับเข้าประเทศ
จ่ายค่าเช่าบ้าน
เมื่อต้องการจะยกเลิกสัญญาเนื่องจากจะย้ายที่อยู่หรือกลับประเทศ ต้องแจ้งทางเจ้าของบ้านหรือนายหน้า(หาบ้าน)ล่วงหน้าตามเนื้อหาในสัญญา ( ปกติจะแจ้งล่วงหน้า 1-2เดือน)
หากย้ายออกโดยที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าหรือแจ้งย้ายออกกระทันหัน ค่าเช่าบ้านจะต้องถูกหักออกจากค่ามัดจำ ตอนที่ย้ายออกจากบ้าน เจ้าของบ้านหรือนายหน้าจะมาตรวจสอบสภาพภายในห้องด้วย
ขั้นตอนที่โรงเรียน
- เมื่อมีกำหนดกลับประเทศ ผู้ปกครองจำเป็นต้องแจ้งแก่ทางรองผู้อำนวยการโรงเรียนให้ทราบเรื่อง
- โรงเรียนจะจัดทำเอกสารที่จำเป็นเพื่อการยื่นขอตราประทับที่เป็นทางการ เช่น 1. หนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียน 2. ใบรับรองผลการเรียน 3. หนังสือรับรองหลักสูตรการศึกษา 4. ใบรับรองการจบการศึกษา
- กระทรวงการต่างประเทศจะตรวจสอบตราประทับ
- ผู้ปกครองจะต้องส่งเอกสารเพื่อรับรองลายเซ็นต์ และ เอกสารอื่นๆที่เขียนไว้ด้านล่างนี้ ไปยังสถานกงสุล ( ใบยื่นคำร้องรับรองลายเซ็นต์, สำเนาบัตรไซริวการ์ด, ค่าธรรมเนียม)
น้ำประปา, ไฟฟ้า ,แก๊ส, ค่าโทรศัพท์ (NTT), ค่าสัญญาณ NHK
WEB
น้ำประปา, ไฟฟ้า ,แก๊ส, ค่าโทรศัพท์ (NTT), ค่าสัญญาณ NHK ทั้งหมดนั้นสามารถดำเนินการทางอินเตอร์เน็ตได้ฟรี
หากต้องการติดต่อทางโทรศัพท์
-
ขั้นตอนการยกเลิกน้ำประปา
ศูนย์บริการลูกค้าสำนักงานการประปาเมืองโกเบ 078-797-5555
เวลาทำการรับโทรศัพท์ วันจันทร์-ศุกร์ (ไม่รวมวันหยุด): 9:00-17:15 น.
ในขั้นตอนแจ้งเรื่องการยกเลิก เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ
กรุณาแจ้งหมายเลขลูกค้า (โอะเคียะคุสะมะบันโกะ) ที่จะมีเขียนอยู่ที่ใบแจ้งการใช้น้ำ เ
หากไม่ทราบหมายเลขลูกค้าสามารถแจ้งที่อยู่หรือชื่อผู้ทำสัญญาเพื่อดำเนินการได้
-
การยกเลิกแก๊ส
อำเภอโกเบทุกตำบล :ฝ่ายขาย Hyogo Living โอซากาแก๊สศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0120-7-94817
ช่วงเวลารับโทรศัพท์ (วันจันทร์ - เสาร์) 9:00-19:00 (วันอาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์) 9:00-17:00
ตอนแจ้งเรื่องยกเลิก กรุณาแจ้ง 「โอะเคียะคุสะมะบันโกะ」 (หมายเลขลูกค้า) ที่จะมีเขียนอยู่ที่ใบเสร็จรับเงินหรือใบเรียกเก็บเงิน เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการ
-
ผู้ที่ใช้แก๊ส LP
กรุณาติดต่อร้านแก๊ส LP ที่ทำสัญญาไว้
※ ส่วนใหญ่จะเขียนชื่อร้านไว้ที่ถังแก๊ส -
การยกเลิกโทรศัพท์
อินเตอร์เน็ต : เวปไซต์
โทรศัพท์ : 116 ไม่มีรหัสเขตพื้นที่ ทางโทรศัพท์มือถือหรือPHS 0800-2000116
ช่วงเวลาทำการ : 9:00-17:00
-
การยกเลิกการใช้โทรศัพท์มือถือ ให้ไปยังร้านมือถือตามบริษัทที่ท่านใช้บริการ
-
การยกเลิกรับสัญญาณ NHK
0120-151515 หรือ 0570-077077
เวลา 9:00-22:00 / วันเสาร์, วันอาทิตย์, วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 9:00-20:00
รถยนต์และรถจักรยานยนต์
-
หากมีรถยนต์ (รถยนต์ทั่วไป) หรือรถจักรยานยนต์ (รถจักรยานยนต์2ล้อขนาดใหญ่, รถจักรยานยนต์2ล้อขนาดเล็ก)
ก่อนจะกลับประเทศให้ดำเนินขั้นตอนทั้งหมดให้เสร็จสิ้นก่อน หากดำเนินการหลังจากกลับไปแล้วจะค่อนข้างลำบาก
กรุณาดูการดำเนินขั้นตอนต่างๆได้ที่เวปไซต์ของฝ่ายบริหารของกรมขนส่งโกเบ (เท่านั้น)
ฝ่ายบริหารของกรมขนส่งโกเบ (สำนักงานอุโอซะกิ)
〒658-0024
2-34 อุโอซะกิฮะมะมะฉิ, ฮิกาชินะดะ, โกเบ
Help desk 050-5540-2066
หากมีรถยนต์ 3ล้อ หรือ 4ล้อที่มีขนาดเล็กกว่า 660cc
- ติดต่อสอบถาม : สมาคมตรวจสอบรถยนต์ขนาดเล็ก สำนักงานเฮียวโกะ 050-3816-1847 (เท่านั้น)
หากมีรถสกูตเตอร์ หรือรถยนต์ลักษณะพิเศษขนาดเล็ก
- ติดต่อสอบถาม : กรุณาดำเนินการที่สำนักงานภาษีท้องถิ่นภายในที่ทำการตำบล หรือสำนักงานโฮะคุชิน โดยให้นำป้ายทะเบียน, ใบจดทะเบียน, ตราประทับชื่อ, เอกสารยืนยันตัวตน (ที่สามารถตัวสอบชื่อและที่อยู่ได้ เช่นใบขับขี่ เป็นต้น)ไปด้วย
ใบจดทะเบียนตราประทับชื่อ
- ใบจดทะเบียนตราประทับชื่อ หากไม่ได้ทำการ re-entry การจดทะเบียนจะถูกยกเลิกในวันที่ออกนอกประเทศ ซึ่งไม่จำเป็นต้องดำเนินเรื่องใดๆ
ขั้นตอนหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาษีซ้ำซ้อน
ประเทศที่มีพันธะสัญญาทางภาษี ถ้าทำการออกหนังสือรับรองการชำระภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ญี่ปุ่น หลังจากกลับประเทศไปแล้วจะชำระแค่จำนวนส่วนต่างของจำนวนที่เสียภาษีที่ญี่ปุ่นไป (เฉพาะคนที่ไม่มีรายได้นอกประเทศญี่ปุ่น)
เพื่อป้องกันการเกิดภาษีซ้ำซ้อน จำเป็นต้องใช้เอกสารรับรองการชำระภาษีที่ญี่ปุ่น
※ เอกสารที่จำเป็นนั้นแตกต่างไปตามแต่ละประเทศ กรุณาสอบถามก่อนกลับประเทศ
การลดหย่อนภาษีต่างประเทศ
กรุณายื่นเอกสารรับรองไปยังสำนักงานสรรพากรในเขตที่ดูแลและสำนักงานภาษีท้องที่ในเขตที่อยู่ โดยผ่านทางบริษัทที่ท่านได้รับเงินเดือนได้แก่ หนังสือแจ้งเกี่ยวกับพันธะสัญญาทางภาษีและสำเนาพาสปอร์ต, หนังสือรับรองสถานภาพนักเรียนหรือผู้ประกอบการ
※ กรุณาตรวจสอบรายชื่อประเทศที่อยู่ในพันธะสัญญาทางภาษีได้ที่เวปไซต์ของกระทรวงการคลัง
สำหรับประเทศที่มีพันธะสัญญาทางภาษี นักเรียน, ผู้ประกอบการ, หรืออาจารย์ เป็นต้นที่มีรายได้ตามที่กำหนด จะได้รับการยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายหรือภาษีท้องที่อำเภอ
ชำระภาษีท้องที่จังหวัดหรืออำเภอ
-
ทุกวันที่ 1 มกราคมจะมีการคิดภาษีท้องที่ตามเขตที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นคนชาติใดก็ตาม โดยจะคำนวณภาษีจากรายได้ของปีก่อน (วันที่ 1มกราคม - วันที่ 31 ธันวาคม) และต้องชำระภาษี ถึงแม้ว่าในระหว่างปีจะมีการย้ายที่อยู่หรือกลับประเทศก็ตาม
ผู้ที่มีที่อยู่ในอำเภอนั้นๆ จะต้องยื่นหนังสือแจ้งจำนวนเงินได้ แก่สำนักงานภาษีท้องถิ่นในเขตที่อยู่ ภายในวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี อย่างไรก็ตาม หากผู้ที่ทางที่ทำงานยื่นหนังสือแจ้งจำนวนเงินได้หรือยื่นใบแจ้งการจ่ายเงินเดือนแก่ที่ว่าการอำเภอหรือผู้ที่แจ้งภาษีหัก ณ ที่จ่ายเมื่อปีที่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องยื่นหนังสือแจ้งอีก
เมื่อกลับประเทศ ต้องจัดการหาตัวแทนเพื่อที่จะชำระภาษีท้องถิ่น ณ สำนักงานภาษีท้องถิ่นด้วย
สถานที่ติดต่อ: ที่ทำการอำเภอ ฝ่ายวางแผนงานภาษี 078-647-9300
การชำระภาษีรถยนต์ขนาดเล็ก
-
วันที่ 1 เมษายนของทุกปี จะมีการคิดภาษีผู้ที่มีรถยนต์ขนาดเล็ก รถยนต์ขนาดเล็ก ได้แก่ รถยนต์ขนาดเล็ก, รถยนต์ที่มีเครื่องยนต์, รถจักรยานยนต์ 2ล้อ เป็นต้น รถเก่าที่ไม่ได้ใช้งานหรือมีการเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถก็จำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอน
สถานที่ติดต่อ : ที่ทำการอำเภอ ฝ่ายวางแผนงานภาษี 078-647-9399
ค่าเลี้ยงดูบุตร
- กรณีที่เด็กที่ได้รับค่าเลี้ยง หรือผู้ปกครองที่ได้รับค่าเลี้ยงดูบุตรเท่านั้นที่กลับประเทศ จำเป็นต้องนำตราประทับชื่อมาเพื่อยื่นเรื่องที่ฝ่ายสวัสดิการเด็ก ณ ที่ทำการอำเภอ
ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
- หากมีสมาชิกส่วนหนึ่งในครอบคร้วย้ายออกหรือหากสมาชิกในครอบครัวทุกคนย้ายออก ทั้งสองกรณีนี้จำเป็นต้องนำตราประทับชื่อและใบจดทะเบียนตราประทับชื่อมาเพื่อยื่นเรื่องที่ฝ่ายสวัสดิการเด็ก ณ ที่ทำการอำเภอ
เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลเด็กเล็ก, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้พิการรุนแรง, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลครอบครัวที่มีแต่แม่และบุตร, เงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลผู้สูงอายุ
-
กรุณาคืนใบรับเงินช่วยเหลือได้ที่ ฝ่ายรักษาพยาบาล ณ ที่ทำการอำเภอ
สมุดบันทึกสุโคยะคะ (สมุดบันทึกสุขภาพ)
- กรุณาคืนสมุดบันทึกสุโคยะคะ (สมุดบันทึกสุขภาพ)ได้ที่ ฝ่ายรักษาพยาบาล ณ ที่ทำการอำเภอ
ประกันสุขภาพพลเมือง
- กรุณานำบัตรประกันสุขภาพ, ตราประทับ (สำหรับผู้ที่มีเท่านั้น), .ใบรับรองการลงทะเบียนชาวต่างชาติหรือไซริวการ์ดมายังฝ่ายเงินบำนาญประกันสุขภาพแห่งชาติ ณ ที่ทำการอำเภอ
ยื่นคำร้องขอคืนเงิน (เงินบำนาญหรือสวัสดิการเงินบำนาญ)
ผู้ประกันตนในระบบประกันเงินบำนาญพลเมืองและประกันสวัสดิการเงินบำนาญที่เป็นชาวต่างชาตินั้น ผู้ที่กลับประเทศไปโดยที่ไม่ได้รับเงินบำนาญคืน สามารถทำเรื่องขอคืนเงิน (ดัทไทอิฉิจิคิน) ได้ที่ศูนย์งานประกันสังคมได้โดยตรง โดยต้องส่งเอกสารที่จำเป็นภายใน 2ปีหลังจากกลับประเทศไปแล้ว สามารถขอรับ “ใบยื่นคำร้องขอคืนเงิน” (ดัทไทอิฉิจิคินเซคิวโชะ)ได้ที่สำนักงานเงินบำนาญประเทศญี่ปุ่นก่อนกลับประเทศ
ผู้ที่สามารถยื่นคำร้องได้
- ผู้ที่ไม่มีสัญชาติญี่ปุ่น ( ผู้มี2สัญชาติไม่สามารถยื่นได้, ผู้ที่มีวีซ่าถาวรสามารถยื่นได้)
- ชำระค่าประกันมากกว่า 6เดือนขึ้นไป
- ผู้ที่ไม่มีที่อยู่ที่ญี่ปุ่น
- ผู้ที่ไม่เคยได้สิทธิเข้ารับเงินบำนาญ(รวมถึงเงินเบี้ยเลี้ยงผู้พิการ)
จำนวนเงินที่จะได้รับ (จำนวนเงินในปี 2009)
●ผู้ประกันตนของเงินบำนาญประเภทที่ 1 เมื่อชำระเงินค่าประกันเสร็จสิ้นตามช่วงเวลา สามารถรับเงินตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามตารางด้านล่าง
ช่วงเวลาสิ้นสุดการชำระเงินประกันสำหรับผู้ประกันตนประเภทที่ 1 |
จำนวนเงินที่จะได้รับ |
มากกว่า 6เดือน แต่ไม่เกิน 12เดือน |
43,980 เยน |
มากกว่า 12เดือน แต่ไม่เกิน 18เดือน |
87,960เยน |
มากกว่า 18เดือน แต่ไม่เกิน 24เดือน |
131,940เยน |
มากกว่า 24เดือน แต่ไม่เกิน 30เดือน |
175,920เยน |
มากกว่า 30เดือน แต่ไม่เกิน 36เดือน |
219,900เยน |
มากกว่า 36เดือน |
263,880เยน |
●ผู้ประกันตนขอเงินประกันสวัสดิการเงินบำนาญ เมื่อชำระเงินค่าประกันเสร็จสิ้นตามช่วงเวลา สามารถรับเงินตามอัตราส่วนเงินที่ได้รับตามตารางด้านล่าง
ระยะเวลาประกันตน |
จำนวนเงินที่จะได้รับ เงินเดือนมาตรฐานเฉลี่ย① × อัตราเงินที่ได้รับ② |
มากกว่า 6เดือน แต่ไม่เกิน 12เดือน |
①0.4、②0.5 |
มากกว่า 12เดือน แต่ไม่เกิน 18เดือน |
①0.9、②0.9 |
มากกว่า 18เดือน แต่ไม่เกิน 24เดือน |
①1.3、②1.4 |
มากกว่า 24เดือน แต่ไม่เกิน 30เดือน |
①1.8、②1.8 |
มากกว่า 30เดือน แต่ไม่เกิน 36เดือน |
①2.2、②2.3 |
มากกว่า 36เดือน |
①2.7、②2.8 |
อัตราเงินที่ได้รับ
- เดือนก่อนของเดือนที่พ้นคุณสมบัติผู้ประกันตนของประกันสวัสดิการเงินบำนาญ ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2008ถึง เดือน สิงหาคม ปี 2009
- เดือนก่อนของเดือนที่พ้นคุณสมบัติผู้ประกันตนของประกันสวัสดิการเงินบำนาญ ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2009ถึง เดือน สิงหาคม ปี 2010
เอกสารจำเป็น
- สมุดเงินบำนาญ
- สำเนาพาสปอร์ต (หนังสือเดินทาง) หน้าที่สามารถตรวจสอบวันเดือนปีที่ออกจากประเทศญี่ปุ่นครั้งสุดท้าย, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด, สัญชาติ, ลายเซ็นต์, วีซ่า (หากหน้าที่ประทับตราออกนอกประเทศญี่ปุ่นไม่ชัด ไม่สามารถตรวจสอบวันเดือนปีที่ออกนอกประเทศได้ เอกสารอาจถูกตีกลับ) หากตราประทับออกนอกประเทศญี่ปุ่นไม่ชัด ให้ถ่ายเอกสารหน้าที่ประทับตราเข้าประเทศตอนกลับเข้าประเทศตัวเองส่งมาด้วยก็ได้)
- เอกสารที่สามารถตรวจสอบชื่อธนาคาร, ชื่อสาขา, ที่อยู่สาขา, เลขบัญชี, และชื่อบัญชีธนาคารของผู้ที่รับเงินตัวจริง
สถานที่ติดต่อสอบถามหลังจากกลับประเทศ
นิฮงเนนคินคิโคชิบุ Japan Pension Service
〒168-8505
24-5-3 ทะไคโดะนิชิ, สุกินะมิคุ, โตเกียว
โทรศัพท์ 81-3-3335-0800 (ภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น)
หากต้องการติดต่อ จำเป็นต้องใช้หมายเลขของสมุดเงินบำนาญ
สถานที่ติดต่อ
- กรณีที่เข้าระบบประกันเงินบำนาญพลเมืองอยู่ (ผู้ประกันตนประเภทที่ 1) →สำนักงานเงินบำนาญ
- กรณีที่เข้าระบบประกันเงินบำนาญพลเมือง, กรณีที่อยู่ระหว่างการเข้าหรือเคยเข้าระบบประกันสวัสดิการเงินบำนาญ→สำนักงานเงินบำนาญ
- กรณีที่เข้าในระบบประกันสวัสดิการเงินบำนาญอยู่ → สถานที่ทำงาน
สถานที่ติดต่อสำนักงานเงินบำนาญ
- ตำบลฉูโอ : สำนักงานเงินบำนาญซันโนะมิยะ 078-332-5793
- ตำบลนะกะตะ, ตำบลสุมะ, ตำบลทะรุมิ, ตำบลนิชิ : สำนักงานเงินบำนาญสุมะ 078-731-4797
- ตำบลฮิกาชินะดะ, ตำบลนะดะ : สำนักงานเงินบำนาญฮิกาชินะดะ 078-811-8475
- ตำบลเฮียวโกะ, ตำบลคิตะ : สำนักงานเงินบำนาญเฮียวโกะ 078-577-0294
- หรือ ติดต่อทางโทรศัพท์ Nenkin dial 0570-05-1165
สถานการณ์ข้อตกลงร่วมของการคำนวณเงินบำนาญ
ประเทศที่ทำข้อตกลงร่วมของการคำนวณเงินบำนาญกับญี่ปุ่น
เยอรมัน, อังกฤษ, เกาหลี, อเมริกา, เบลเยี่ยม, ฝรั่งเศส, แคนาดา, สาธารณรัฐเชก, ออสเตรเลีย, เนเธอแลนด์, สเปน, ไอร์แลนด์, บราซิล, สวิสเซอแลนด์, ฮังการี
ประเทศที่อยู่ระหว่างการทำข้อตกลง (ลงนามเสร็จสิ้น)
อิตาลี, อินเดีย, ลุคเซนเบอร์ก
สามารถได้รับเงินบำนาญของประเทศญี่ปุ่นและประเทศคู่สัญญาได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากทำการขอเงินคืน (ดัทไทอิฉิจิคิน) จะไม่สามารถคำนวณระยะเวลาในช่วงนั้นได้
เกี่ยวกับภาษีเงินได้
เงินบำนาญพลเมืองนั้นจะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ในส่วนของสวัสดิการเงินบำนาญนั้น ตอนที่ได้รับนั้นจะถูกคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้20 %
อย่างไรก็ตาม สามารถแจ้งขอคืนภาษีได้ที่สำนักงานสรรพากร โดยก่อนกลับประเทศให้ทำการส่ง”เอกสารรายงานผู้จัดเก็บภาษี” 「โนเซคันรินิน โนะ โทะโดะเกะเดะ」(เอกสารขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกที่) ไปยังที่สำนักงานสรรพากรในเขตที่อยู่ (คนที่อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น)
และกรุณาส่งเอกสารการแจ้งการจ่ายเงินคืนที่เป็นเอกสารตัวจริงซึ่งจะส่งมาพร้อมกับการโอนเงินที่ได้จากการทำเรื่องขอคืนเงิน (ดัทไทอิฉิจิคิน)แก่ผู้จัดเก็บภาษี เพื่อที่ผู้จัดเก็บภาษีจะเป็นตัวแทนในการแจ้งขอคืนภาษี
กรุณาสอบถามเพิ่มเติมที่สรรพากรทุกแห่งเกี่ยวกับรายละเอียดภาษีเงินได้
ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เมื่อ เดือนมกราคม ปี 2016
หลังจากนั้น อาจมีระบบใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบเกิดขึ้น
อนึ่ง ลิงค์ของโฮมเพจ จะอยู่ในการจัดการและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ(องค์กร) ทางอำเภอโกเบจะไม่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ