• ปัญหาDV相談

DV ความรุนแรงในครอบครัว

1. DV

DV คือ การใช้ความรุนแรงที่เกิดจากคนใกล้ชิดเช่น แฟนหรือคู่สมรส เป็นต้น โดยส่วนมากผู้ที่โดนกระทำความรุนแรงมักจะเป็นผู้หญิง
แก่นของ DV คือ การพยายามบังคับหรือควบคุมอีกฝ่ายหนึ่งจนเกิดเป็นการใช้ความรุนแรงขึ้น ซึ่งการใช้ความรุนแรงนั้นมีหลากรูปแบบ

  • การใช้ความรุนแรงกับร่างกาย --- การชกต่อย, การเตะ, การฉุดกระชาก, การขว้างของใส่ เป็นต้น
  • การใช้ความรุนแรงทางจิตใจ – การตะโกนเสียงดังใส่, การด่าทอ, การข่มขู่, การเฉยเมย เป็นต้น
  • การใช้ความรุนแรงทางเพศ --- การข่มขืน, การไม่ให้ความร่วมมือคุมกำเนิด เป็นต้น
  • การใช้ความรุนแรงทางการเงิน --- การไม่ให้เงินสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน, การไม่ให้ออกไปทำงาน เป็นต้น
  • การใช้ความรุนแรงทางสังคม --- การจำกัดความประพฤติ, ไม่ให้พบเพื่อน, การยึดพาสปอร์ตเอาไว้ เป็นต้น
  • การใช้ความรุนแรงโดยใช้ลูก --- การกีดกันลูก, การกระทำความรุนแรงต่อหน้าลูก เป็นต้น
  • การไม่ให้ความร่วมมือในการต่อวีซ่า, ไม่ให้เกียรติแก่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมหรืออาหารของประเทศคุณ เป็นต้น

2. ถ้าได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำความรุนแรง...

ความรับผิดชอบต่อการกระทำความรุนแรง ไม่ใช่ความรับผิดชอบของผู้เสียหาย ถึงแม้ผู้ที่กระทำความรุนแรงจะอ้างว่ามีเหตุผลที่จะกระทำนั้น ถ้าเป็นสาเหตุหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา อย่าได้วิตกกังวลเพียงผู้เดียว ให้ปรึกษากับองค์กรเฉพาะทาง เเต่หากอยากแยกจากผู้ที่ประทุษร้าย ก็มีระบบที่จะให้ความคุ้มครองชั่วคราวหรือคำสั่งคุ้มครองด้วย
*เกี่ยวกับการประกาศคำสั่งคุ้มครอง--- คำสั่งเพื่อการคุ้มครองจากอันตราย การประกาศจากคำสั่งศาลยุติธรรม

  • คำสั่งห้ามเข้าใกล้ – คำสั่งที่สั่งให้ผู้ที่ประทุษร้ายห้ามเข้ามาใกล้ เป็นระยะเวลา 6เดือน

  • คำสั่งห้ามเข้าใกล้ลูกและญาติ --- คำสั่งที่ห้ามให้ผู้ประทุษร้ายเข้าใกล้ท่าน (ท่านที่อายุต่ำกว่า 20ปี)เเละลูกหรือญาติที่อาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นระยะเวลา 6เดือน

  • คำสั่งให้ย้ายออกจากบ้าน--- คำสั่งที่ให้ผู้ที่เป็นสามีย้ายออกจากบ้าน เป็นระยะเวลา 2เดือน
    + หากผู้ประทุษร้ายละเมิดคำสั่ง จะถูกลงโทษ
    + หากเกินระยะเวลาคำสั่งคุ้มครองแล้ว แต่หากสถานการณ์ยังอันตราย สามารถยื่นขอความคุ้มครองได้อีกครั้ง
    + เพื่อการยื่นขอความคุ้มครอง มีความจำเป็นที่จะต้องไปปรึกษากับแผนกความปลอดภัยในชีวิตที่สถานีตำรวจหรือที่ปรึกษาการกระทำความรุนแรงกับผู้หญิง (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สมรสของอำเภอโกเบ) ก่อน

3. ช่องทางปรึกษา ※ กรณีฉุกเฉิน โทร 110

ชื่อองค์กร เวลาที่ให้คำปรึกษา สถานที่ติดต่อ
ที่ปรึกษาการกระทำความรุนแรงกับผู้หญิง (ศูนย์ให้ความช่วยเหลือการใช้ความรุนแรงระหว่างคู่สมรสของอำเภอโกเบ)

ทุกวัน ( ยกเว้น วันที่ 28 ธันวาคม – 4 มกราคม)

9:00 – 17:00
TEL: 078-382-0037
WEB (in Japanese)
ศูนย์ครอบครัวสตรีประจำจังหวัดเฮียวโกะ
เฮียวโกะเกงริทสึโจะเสคะเทเซนตา
ทุกวัน 9:00 – 17:00 TEL: 078-732-7700
WEB (in Japanese)

เครือข่ายให้ความช่วยเหลือชาวต่างชาติในโกเบ

NGO โกเบไกโคคุจินคิวเองเน็ตโตะ

วันศุกร์ 13:00-20:00

ภาษาอังกฤษ/ ภาษาตากะลอค/ ภาษาสเปน/ ภาษาโปรุเกส /ภาษาจีน ( ถึง 18:00)
TEL: 078-232-1290
WEB (in Japanese)

เครือข่ายสตรี ในโกเบ

วีเมนสุเน็ตโตะโกเบ

วันจันทร์, วันพุธ, วันศุกร์

10:00 -16:00

(เบอร์สายด่วยปรึกษาปัญหาการใช้ความรุนแรง)
TEL: 078-731-0324
WEB (in Japanese)
ตำรวจจังหวัดเฮียวโกะ โรคจิตสะกดรอยตาม หรือ ปรึกษาปัญหาการใช้ความรุนแรง 24 ชั่วโมง TEL: 078-371-7830
WEB (in Japanese)

ที่ทำการตำบล แผนกการให้ความช่วยเหลือครอบครัวเด็ก

วันจันทร์ – วันศุกร์

8:45 – 17:30

ฮิกาชินะดะ TEL: 078-841-4131
นะดะ TEL: 078-843-7001
ฉูโอ TEL: 078-335-7511
เฮียวโกะ TEL: 078-511-2111
คิตะ TEL: 078-593-1111
คิตะ สาขาฮคคุชิน TEL: 078-981-1748
นะกะตะ TEL: 078-579-2311
สุมะ TEL: 078-731-4341
สาขาคิตะสุมะ TEL: 078-793-1313
ทารุมิ TEL: 078-708-5151
นิชิ TEL: 078-940-9501

ท่านสามารถปรึกษาแผนกความปลอดภัยในชีวิตประจำวันของตำรวจในตำบลที่ท่านอาศัยอยู่หรือปรึกษาได้ที่แผนกประกันสุขภาพและสวัสดิการของแต่ละตำบลได้

※ 緊急の場合は110番

ข้อมูลข้างต้นเป็นข้อมูลที่ตรวจสอบได้เมื่อ เดือนเมษายน ปี 2015
หลังจากนั้น อาจมีระบบใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงระบบเกิดขึ้น
อนึ่ง ลิงค์ของโฮมเพจ จะอยู่ในการจัดการและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ(องค์กร) ทางอำเภอโกเบจะไม่มีส่วนรับผิดชอบเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ